วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่๒ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ความหมายของการจัดการความรู้

     การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้า

รูปแบบของความรู้ เป็นอย่างไรบ้าง ? รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ


1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) 
     เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม

2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) 
     เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม

ระดับความรู้

          ระดับที่ 1 : Know-what (รู้ว่า คืออะไร) เป็นความรู้ในเชิงการรับรู้
          ระดับที่ 2 : Know- how (รู้วิธีการ) เป็นความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ
          ระดับที่ 3 : Know – why (รู้เหตุผล) เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในเชิงเหตุผลที่ซับซ้อน ซึ่งอยู
ภายใต้ เหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ ความรู้ในระดับนี้สามารถพัฒนา
ได้บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา
          ระดับที่ 4 : Care-why (ใส่ใจกับเหตุผล) เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่มีความรู้ในระดับนี้จะมี เจตจำนง แรงจูงในและการปรับตัวเพื่อ
ความสำเร็จ



     
     ในชีวิตจริง ความรู้ 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit

การจัดการความรู้   

     มีหลักการคล้ายกับการบริหารจัดการเรื่องอื่นๆ ทั่วไป คือ การที่เราจะบริหารจัดการสิ่งใดได้  จะต้องเข้าใจธรรมชาติของสิ่ง นั้นก่อน  จึงจะบริหารจัดการสิ่งนั้นได้ เช่น 
     ถ้าจะบริหารคน  ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของคน  ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องของเรา มีอุปนิสัยอย่างไร  และเราควรปฏิบัติต่อพวกเขา อย่างไร จึงจะได้ผลงานที่ดีจากพวกเขา 
     การจัดการความรู้ ก็เช่นเดียวกัน 
เราจะบริหารจัดการความรู้ ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของความรู้ว่า ความรู้คืออะไร  และความรู้เกิดขึ้น
ได้อย่างไร


โมเดลและทฤษฏีที่สําคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้  มีดังนี้ 

  1. ปิรามิดแห่งความรู้ ของ Yamazaki 
  2. ภูเขานํ้าแข็งแห่งความรู้ ของ Nonaka 
  3. การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (Tuna Model) ของ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด         
  4. KM Model  : สคส. 
  5. KM-Process  : กพร.  ( ไปอยู่ บท 3)
  6. SECI Model         
  7. ทฤษฎีการจัดการความรู้ของ (Peter M. Senge’s)  (ไปอยู่บท 4)
  8. ทฤษฎี การ์วิน (Garvin) 
  9. ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt)

ปิรามิดแห่งความรู้


Yamazaki  ได้ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะของความรู้  แล้วพบว่า

ความรู้มีลักษณะคล้ายปิรามิด

ปิ รามิดแห่งความรู้ จะ แบ่งลักษณะของความรู้ออกเป็น 4 ประเภท เรียงลําดับ จากฐาน ปิรามิดไปสู่ยอด ซึ่งความรู้แต่ละ ประเภท จะมีลักษณะแตกต่าง กัน แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กัน








1.ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ได้จากการสังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้น  โดยยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ จึงเป็นข้อมูลดิบ

2.สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อข้อมูลนี้ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เป็นสารสนเทศได้กลายเป็นความรู้ที่จะนําไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนางานต่อไป

3.  ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับ ความรู้อื่นๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด เรื่องหนึ่งได้

4.  ภูมิปัญญา (Wisdom) คือ การประยุกต์ใช้ความรู้  เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทํางาน  การจัดการความรู้ที่นําข้อมูล สารสนเทศและความรู้ มาใช้ ทําให้ เกิดภูมิปัญญา ในการสร้างนวัตกรรม (วิธีการใหม่ที่ไม่เคยทํามาก่อน) ซึ่ง สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

     แต่เมื่อเทคโนโลยีทางการสื่อสารเจริญขึ้น การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ สามารถทําได้โดยสะดวก การมีข้อมูล (Data) เพียงอย่างเดียว  จึงไม่ใช่จุด แข็งอีกต่อไป
     สิ่งที่เหนือกว่าข้อมูล คือการจัดการความรู้ (KM)  ด้วยการแปลง ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและความรู้ เพื่อใช้ความรู้ที่ได้  ทําให้เกิดภูมิปัญญา และสร้างนวัตกรรม



ภูเขานํ้าแข็งแห่งความรู้


Nonaka 

ได้ศึกษาวิจัย เกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ว่า ความรู้ คืออะไร และ เกิดขึ้นได้อย่างไร พบว่า ความรู้มีลักษณะที่ความแตกต่าง จากปิรามิดแห่งความรู้ของ Yamazaki โดย Nonaka ได้เปรียบเทียบ

ความรู้กับ รูปภูเขานํ้าแข็ง ซึ่งจําแนกความรู้ ออกเป็น 2 ประเภท






1. ส่วนของยอดภูเขานํ้าแข็งที่ลอยอยู่เหนือนํ้า  

มองเห็นได้ชัดเจนเรียกว่า Explicit Knowledge แปลว่า ความรู้แจ้งชัด

2. ส่วนภูเขานํ้าแข็งที่จมอยู่ใต้นํ้า  

ไม่สามารถ มองเห็นได้ เรียกว่า Tacit Knowledge แปลว่า ความรู้ฝังลึก (ที่อยู่ในตัวคน)

1.  Explicit Knowledge(ความรู้แจ้งชัด) 
     คือ  ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล หรือ ความรู้เชิงทฤษฏีที่บันทึกไว้ ในสื่อต่าง ๆ  เช่น เอกสารตํารา และคู่มือการปฏิบัติงาน  เป็นความรู้ที่ ง่ายต่อการอธิบายถ่ายทอด  ซึ่งทําให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงความรู้นั้นได้ ง่าย จึงเปรียบได้กับภูเขานํ้าแข็งส่วนที่โผล่พ้นนํ้าขึ้นมามองเห็นได้ ชัดเจน มีปริมาณ 20% ของความรู้ทั้งหมดของคนเรา 

2.TacitKnowledge  (ความรู้ฝังลึก) 
     คือ  ความรู้เชิงประสบการณ์ ที่ซ่อนอยู่ในตัวคน  ในลักษณะ ของ ความชํานาญ หรือ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษ เฉพาะบุคคล หรือพรสวรรค์ ซึ่งยากแก่การอธิบายถ่ายทอดให้เป็นลาย ลักษณ์อักษร แต่ก็สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้ ด้วยเหตุที่เป็นความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวคน มองเห็นไม่ชัดเจน จึงเปรียบได้กับภูเขานํ้าแข็ง ส่วนที่จมอยู่ใต้นํ้าซึ่งมองไม่เห็นมีปริมาณ 80% ของความรู้ ทั้งหมดของคนเรา
     เป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการ แข่งขัน  แต่ยากต่อการบริหารจัดการ ความรู้ฝังลึกเป็นประสบการณ์ที่ซ่อนอยู่ในตัวตน ได้แก่ 
-  ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว (ที่ยากต่อการเลียนแบบ) 
-  พรสวรรค์ (เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่บุคคล อื่นไม่สามารถเลียนแบบได้) 
-  เทคนิควิธีของแต่ละคน ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติงาน จนกลายเป็นทักษะความชํานาญหรือความเชี่ยวชาญ 
-  วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เป็นบทสรุปของเทคนิค วิธีการดําเนินงานที่ดีที่สุดของแต่ละคน ที่ค้นพบจากการทํางาน 
-  สูตรเด็ดเคล็ดลับต่าง ๆ

สัดส่วนของความรู้บนภูเขานํ้าแข็ง 


     เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของความรู้ทั้ง 2 ประเภท  พบว่า  ความรู้ในองค์กรที่เป็น Explicit และ Tacit มีอัตราส่วน 20:80  คล้ายกับภูเขานํ้าแข็งที่มียอดภูเขาโผล่พ้น นํ้าขึ้นมา  เป็นส่วนน้อย  (Explicit ประมาณ 20% ของทั้งหมด)  เมื่อเทียบกับส่วนของภูเขานํ้าแข็งที่ จมอยู่ใต้นํ้า ซึ่งมีมาก (Tacit ประมาณ 80% ของ ทั้งหมด)

     ดังนั้น องค์กรชั้นนําทั่วโลก  จึงเริ่มให้ความสนใจ เรื่อง การ จัดการความรู้ของคนในองค์กรมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะความรู้เชิง ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวพนักงาน 

• จึงเริ่มต้นจัดการความรู้ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ การออกคําสั่งให้ พนักงานทุกคนเขียนเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคการทํางานของ ตนเอง ส่งผู้จัดการบริษัท  

•เพื่อทําให้ Tacit Knowledge  ซึ่งเป็นความรู้ฝังลึกในตัวพนักงาน ได้เปลี่ยนสถานะเป็น Explicit Knowledge หรือกลายเป็นความรู้ที่ แจ้งชัด ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  

เพื่อเก็บไว้ในคลังความรู้ขององค์กร ให้พนักงานคนอื่นๆ ได้เข้ามา ศึกษาเรียนรู้ และนํามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการทํางาน

ปัญหาของการจัดการความรู้ในลักษณะนี้ 
     เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ 
คือ เพราะถูกบังคับ เพราะหวงวิชา และภาษาเป็นอุปสรรคในการถ่ายทอด ความรู้  
ทําให้องค์ความรู้ที่ได้ขาดความสมบูรณ์  อาจจะลดลงเหลือ เพียง 20-30% ของความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่จึงไม่สามารถนํามาใช้ ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่

ทําให้นักวิชาการด้านการจัดการความรู้ ต้องหาวิธีการแก้ไข ปัญหาดังกล่าว  ด้วยการคิดค้นเทคนิควิธีการจัดการความรู้แบบต่างๆ เช่น 
     » การเล่าเรื่องความสําเร็จ (Storytelling) 
     » ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP: Community of Practice) และวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธี  เพื่อให้การจัดการความรู้ (KM) ได้ผลดี อย่างเต็มที่ 


โมเดลปลาทู


เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ  





1. ส่วน "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) 

     หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?" โดย "หัวปลา" นี้จะต้องเป็นของ "คุณกิจ" หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" คอยช่วยเหลือ

2. ส่วน "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) 

     เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง "คุณอำนวย" จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

3. "ส่วน "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) 

     เป็นส่วนของ "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ที่ได้จากการเก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ 


KM Model  : สคส





     ตามแนวคิดของ สคส.   (วิจารณ์  พานิช)  การจัดการความรู้ (สคส.) คือ เครื่องมือโดยมีเป้าหมายอยู่ที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสําคัญ ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สคส. สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท       
1. Explicit Knowledge         
2. Tacit Knowledge



SECI Model

  • เป้าหมาย เน้นคน 
  • มีการแลกเปลี่ยนจากคน และจะขยายความรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งมี ปฏิสัมพันธ์ผ่านกระบวนการกลุ่มผ่านทางสังคม44



  • S = Socialization  คือ  การสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปัน ประสบการณ์โดยการพบปะสมาคม และ พูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
  • E = Externalization คือ การนําความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นํามา พูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้เป็นสิ่งที่จับต้อง ได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
  • C = Combination  คือ  การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมา รวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ สามารถนําความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
  • I  = Internalization คือ การนําความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติ หรือลงมือทําจริง การนําไปปฏิบัติจริง สามารถนํามาใช้แก้ไขปัญหา โดยการนําเอา ความรู้ที่มีและความรู้ที่ได้ใหม่มาต่อยอด เพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น



SECI Model # 2

  • เน้นการนํา ICT เข้ามาใช้
องค์ประกอบสําคัญของวงจรสร้างความรู้ 

1.คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุด เนื่องจาก 
- เป็นแหล่งความรู้
- เป็นผู้นําความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 

2.เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บแลกเปลี่ยน นําความรู้ไป ใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น 3.กระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการเพื่อนําความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ ผู้ใช้ เพื่อทําให้เกิดการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรม



ทฤษฎี การ์วิน (Garvin)






ทฤษฎี การ์วิน (Garvin)
     แนวคิดของการ์วิน องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ องค์กรที่มี  การสร้าง และ การถ่ายโอนความรู้ ตลอดถึงมีการนําไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ สะท้อนให้เกิดความรู้และความเข้าใจใหม่ ที่ใช้กับองค์กร  





มีขั้นตอน 5   คือ 
  1. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ           
  2. การทดลองใช้วิธีการใหม่ ๆ           
  3. การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต           
  4. การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น          
  5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
ทฤษฎีของกาวินจะเป็นเน้นที่องค์กร


ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt)

     ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt) แสดงให้เห็นว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็น
องค์กรเชิงระบบที่มีการเรียนรู้อย่างเต็ม สมรรถนะ สั่งสมการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยการ แก้ไข จัดการและใช้ความรู้เพื่อความสําเร็จขององค์กร  

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของมาควอส (Marquardt)
  • องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ของมาคลอสมี 5 องค์ประกอบได้แก่  


องค์กร (organization)



บุคคล (people)


เทคโนโลยี (technology)  


ความรู้ (knowledge) 


การเรียนรู้ (learning) 

  • มาควอทจะมองเห็นถึงความสําคัญของเทคโนโลยีโดยนําเอามาเป็น สื่อกลางในการเรียนรู้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้โปรแกรม Joomla

Custom Fields  เป็นหนึ่งในคุณลักษณะใหม่ของ   Joomla   ที่ถูกเพิ่มมาในเว็อร์ชัน 3.7 ซึ่งตัว   Custom Fields   จะช่วยให้เราสามารถจัดการเพิ่ม...