วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่๔ องค์การแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ 

     Peter Senge’sได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เรียกว่า 
The five disciplines (วินัย 5 ประการ) ซึ่งเป็นแนวทางสําคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้
ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปีเตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s)

     จะมุ่งเน้นไปที่คน เพราะPeter Senge’s มีความคิดว่าการพัฒนาองค์กรแห่งการ เรียนรู้จะต้องเริ่มการพัฒนาคนก่อน KM  >  LO >  IO 





  • องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO)คือองค์กรที่ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  เรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร  เรียนรู้ในกิจกรรมทุกอย่าง  เป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มีความเป็นพลวัตอยู่ ตลอดเวลา
  • สภาพเช่นนั้น เป็นสภาพที่สมาชิกขององค์กรรวมตัวกันเรียนรู้จาก การปฏิบัติงานประจํา   เรียนรู้จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (CQI Continuous Quality Improvement)





องค์ประกอบที่สําคัญ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการเป็น 
“องค์กรแห่งการ เรียนรู้” คือ “วินัย 5 ประการ”  ประกอบด้วย 
  1. ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล(Personal Mastery) 
  2. แบบแผนทางจิตใจที่มองโลกตามความเป็นจริง(Mental Model) 
  3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน(Shared Vision) 
  4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม(Team Learning) 
  5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) 
  6. ทําอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะทั้ง 5 ของ LO
ทําอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะทั้ง 5 ของ LO

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่๓ การจัดการความรู้

5. KM-Process  : กพร.





     การจัดการความรู้ (กพร.) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน องค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็น ระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     สามารถแบ่งกระบวนการจัดการความรู้ได้ 7 กระบวนการ 

  1. การบ่งชี้ความรู้  ค้นหาว่ามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในองค์กร  แล้ว พิจารณาว่าความรู้นั้นเป็นรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือความรู้อะไรบ้างที่ องค์กรจําเป็นต้องมี จัดลําดับความสําคัญของความรู้เหล่านั้น 
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ใหม่  แสวงหา ความรู้จากภายนอก  รักษาความรู้เก่า กําจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว 
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้การเก็บรวบรวม การค้นหา การนําไปใช้ทําได้ง่ายและรวดเร็ว   และนําความรู้ดังกล่าวไปใช้ ประโยชน์  
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เป็นการประมวลความรู้ให้ อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน 
  5. การเข้าถึงความรู้  เป็นการทําให้ผู้ใช้ความรู้ เข้าถึงความรู้ที่ ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  Explicit Knowledge เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ Tacit Knowledge  ระบบทีมข้ามสายงาน  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและ นวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น 
  7. การเรียนรู้ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ ซึ่งอาจสังเกตได้จากความสามารถ ในการทํางานดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถแก้ปัญหาในการ ทํางานที่ดีขึ้น  มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  และนําไปสู่การทําให้องค์กรมีการ บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงในที่สุด

บทที่ 6 การใช้โปรแกรม Joomla

Custom Fields  เป็นหนึ่งในคุณลักษณะใหม่ของ   Joomla   ที่ถูกเพิ่มมาในเว็อร์ชัน 3.7 ซึ่งตัว   Custom Fields   จะช่วยให้เราสามารถจัดการเพิ่ม...