วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่๑ แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

1.อิคูจิโร  โนนากะ 

     ความรู้หมายถึง  อิคูชิโร โนนากะ และ ไมเคิล โพลานยี(บุญดี บุญญากิจ และคนอื่นๆ ๒๕๔๙ : ๑๖)
ได้จำแนกความรู้ออกเป็น ๒ ประเภทคือ

     ๑. ความรู้แบบซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน เกิดจาก
ประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ อธิบายออกมาได้ยาก แต่สามารถพัฒนา
และแบ่งปันได้
     ๒. ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถ
ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร รายงานต่างๆ เป็นต้น

2.ฮิเดโอะ ยามาซากิ(Hideo Yamazaki)

     ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น (บุญดี บุญญากิจและคนอื่นๆ ๒๕๔๙ : ๑๔ ) นิยามค าว่า “ความรู้” พร้อมทั้งแบ่งลำดับชั้นของความรู้ในรูปปิรามิด จากฐานรากขึ้นไปเป็น ๔ ล าดับคือ ข้อมูล (data) สารสนเทศ (information) ความรู้(knowledge) และ ภูมิปัญญา (wisdom) ดังนี้

     ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง ตัวเลข รูปภาพ ที่ยังไม่ได้ผ่านการแปรความหมาย ซึ่งนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ยังไม่ได้สารสนเทศ
     (information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์เรียบเรียงและแปลความหมาย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการในขั้นตอนของการตัดสินใจ ความรู้
     (knowledge) คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด การเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำ ไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลาภูมิปัญญา
     (wisdom) คือความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้
*******ฮิเดโอะ ยามาซากิ (Hedeo Yamazak) (อ้างใน วรภัทธ์ ภู่เจริญ, 2548 : 138) ได้แสดงว่ามิติความรู้ โดยเริ่มจากฐานล่าง คือ ข้อมูล สังเคราะห์จนได้สารสนเทศคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงจนได้ ความรู้ นำไปใช้จนแก่งกลายเป็น ปัญญา*****
  

3.ดาเวนพอร์ท (Daveport&Prusk. 1997.8) 

     กล่าวว่า ความรู้หมายถึง กรอบของการประสมประสานระหว่างประสบการณ์  ค่านิยม  ความรอบรู้ในบริบท  และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง 
เป็นการประสมประสานทีให้กรอบสำหรับการประเมินค่า  และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ  มาผสมรวมเข้าด้วยกัน มันเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้ประยุกต์ในใจของคนที่รู้
 สำหรับในแง่องค์กรนั้น ความรู้มักจะสั่งสมอยู่ในรูปของเอกสาร  หรือแฟ้มเก็บเอกสารต่างๆ  รวมไปถึงขั้นสั่งสมอยู่ในการทำงาน  อยู่ในกระบวนการ  อยู่ในการปฏิบัติงาน  และอยู่ในบรรทัด
ฐานขององค์กรนั้นเอง

4. Peter Senge ( 1990 ) 

     แห่ง Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ
หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน


5.ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ (Peter F Drucker, 1909-2005) 

     เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แต่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิด
การบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานเขียนของดรักเกอร์เกี่ยวกับการบริหารองค์กร จะเห็นแนวคิดของเขาที่มีลักษณะโดดเด่นอยู่
3 ประการ

ประการ 1  เป็นทัศนะที่มองสิ่งต่างๆ จากจุดที่สูงของสังคมลงมา สังคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นความคิดของดรักเกอร์ มาตรฐานที่ใช้วัดคำว่า “การบริหาร” จึงอยู่ที่ผลกระทบต่อสังคมโดยรวมหรือต่อสาธารณะประโยชน์

ประการที่ 2 วิธีคิดของดรักเกอร์อาศัยทักษะความเชี่ยวชาญแบบพื้นฐานบวกกับความรอบรู้สาขาวิชาด้านต่างๆ ทำให้เกิดวิธีการวิเคราะห์ที่มองเห็นปัญหาต่างๆ อย่างได้ผล และสามารถนำความคิดนั้นมาใช้ในทางปฏิบัติ คำขวัญที่ดรักเกอร์ยึดถือคือ “เรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติ”

ประการที่ 3 ความสามารถในการวิเคราะห์ได้ชัดเจนและแม่นยำจะไม่มีประโยชน์อะไร หากไม่สามารถนำเสนอออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนและคนเข้าใจง่าย สิ่งที่เป็นมนต์เสน่ห์และพลังของแนวคิดดรักเกอร์คือความสามารถในการนำเสนอแนวคิดต่างๆ ออกมาเป็นหลักการที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้
    หลักการต่างๆ นั้นก็มาจากความคิดแบบสามัญสำนึก (common sense) เช่น ประโยคคำพูดของเขาที่ว่า “โอกาสทางธุรกิจนั้นอยู่ภายนอกองค์กร ภายในองค์กรล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องค่าใช้จ่าย” เป็นต้น
   

6.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี     

     ท่านได้เสนอแนวคิดว่าความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา 4 หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ ( วิทยาศาสตร์กายภาพ ) ความรู้ทางสังคม ( วิทยาศาสตร์สังคม ) ความรู้ทางศาสนา ( วิทยาศาสตร์ข้างใน )
 และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่เป็นการเพียงพอที่จะ ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมเราจำเป็นต้องมีปัญญาอย่างบูราณาการ การศึกษาและการวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาทุกด้านมิใช่ให้เรียนรู้เป็นส่วน ๆ เพราะความรู้แบบแยกส่วนจะนำไปสู่การกระทำ
แบบแยกส่วนทำให้เกิดการเสียดุลยภาพและเกิดวิกฤติการณ์ขึ้น การศึกษาเรียนรู้จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยงเนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเป็นโลกแห่งการเชื่อมโยงเป็นองค์รวม การจัดการเรียนรู้ควรจะไปให้ถึง 3 ระดับ คือ 
1.) ระดับที่เกิดความรู้ ซึ้งหมายถึงการรู้ความจริง
การที่บุคคลจะทำอะไรให้สำเร็จได้บุคคลนั้นต้องรู้และใช้ความจริง ความรู้ต้องเป็นความจริงเพราะการใช้ความจริงทำให้ทำได้ถูกต้อง การให้ผู้เรียนสัมผัสความจริงเท่ากับ เป็นการให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับเบื้องต้น


2.) ระดับที่เกิดปัญญา เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถบูรณาการหรือเชื่อมโยงความรู้ใน
4 ด้านดังกล่าวข้างต้นและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 

3.) ระดับที่เกิดจิตสำนึก คือ การเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจตัวเองว่าสัมพันธ์กับสรรพสิ่งอย่างไร ประเวศ วะสีท่านได้กล่าวต่อไปว่า จริยธรรมจะเกิดแก่บุคคลต่อเมื่อบุคคลนั้นได้บรรลุการเรียนรู้ทั้ง 3 ระดับ
ดังกล่าวจึงควรมีการปฎิรูปการเรียนให้มาเน้นการสัมผัสความจริงการคิดและการจัดการให้มากขึ้นทุกระดับ

    7.    ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช แห่งสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

     กล่าวว่า องค์การเอื้อการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้าน ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้าง


นวัตกรรม (Innovation)

     รวมทั้งมีบุคลิกขององค์การในลักษณะที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยว ข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้
    

8.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2547) ได้เสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้ แบบปลาทู (Tuna Model) 

     เป็นกรอบความคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยเปรียบการจัดการความรู้เสมือนปลาหนึ่งตัว ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ลำตัว และหางปลา
ตัวแบบปลาทู (Tuna Model) ที่เปรียบการจัดการความรู้เหมือนปลาหนึ่งตัว โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"

ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน

ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knoeledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 6 การใช้โปรแกรม Joomla

Custom Fields  เป็นหนึ่งในคุณลักษณะใหม่ของ   Joomla   ที่ถูกเพิ่มมาในเว็อร์ชัน 3.7 ซึ่งตัว   Custom Fields   จะช่วยให้เราสามารถจัดการเพิ่ม...